ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล
อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

แนวนโยบาย
                 ภายใต้แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐที่จะต้องส่งเสริมการรวมตัวของเกษตรกรเพื่อวางแผนพัฒนาการเกษตรภายใต้หลักการที่ประชาชนมีส่วนร่วมคิด วิเคราะห์และตัดสินใจในการกำหนดแผนการพัฒนาพื้นที่ด้วยตนเอง เพื่อให้ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง   กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดตั้งศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางให้เกษตรกรได้เข้ามามีส่วนร่วมคิด  วิเคราะห์วางแผนและบริหารจัดการแผนด้วยตนเอง โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะทำหน้าที่ในการสนับสนุนด้านการบริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งด้านพืช  ปศุสัตว์  ประมง  รวมทั้งการให้ข้อมูลข่าวสารการเกษตรที่สำคัญแก่เกษตรกรในลักษณะบูรณาการ ณ จุดเดียวคือที่ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล จะไม่เน้นในด้านของอาคาร สิ่งก่อสร้าง   แต่จะเน้นด้านการสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเพิ่มศักยภาพเกษตรกร ในการพัฒนาการเกษตร ในตำบลของตนเองเป็น หลักการสำคัญ
 
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งศูนย์บริการ               
              1.  ปรับเปลี่ยนกระบวนการในการพัฒนาการเกษตรที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  สถาบันเกษตรกรและชุมชน  มีโอกาสและมีส่วน ร่วมในการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนด้วยตนเอง  และสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนในลักษณะบูรณาการ                
              2.  ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานของส่วนราชการ ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในระดับท้องถิ่น  เป็นลักษณะบูรณาการ ให้เกิดการบริการเกษตรกรที่จุดเดียว (One Stop Service)  โดยผ่านศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล                
              3. เพิ่มศักยภาพของชุมชนในการวางแผนและพัฒนาตนเองในด้านการพัฒนาการเกษตร เสนอแนะให้มีการใช้ประโยชน์จากงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการพัฒนาการเกษตร   รวมทั้งส่งเสริมการออมและระดมทุนของชุมชน  เพื่อการลงทุนทางธุรกิจ

บทบาทของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
           1.  เป็นศูนย์ประสานการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
           2.  เป็นศูนย์ข้อมูลและบริการข่าวสารด้านการเกษตรแต่ละสาขา
           3.  เป็น  "เวทีชุมชน"    ในการวางแผนพัฒนาการเกษตรในตำบล
           4.   เป็นเวทีในการพบปะและร่วมจัดทำกิจกรรมของทุกส่วนราชการองค์กรต่างๆ  และเกษตรกร
           5.  เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงเครือข่ายด้านการเกษตร  (การผลิต    การแปรรูป  ฯลฯ)

บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการฯ
1.  ร่วมประชุมทุกเดือน เพื่อแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจในการบริหารจัดการศูนย์ฯ
2.  กระตุ้นให้ผู้นำชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันวางแผนพัฒนาด้านการเกษตรตามแนวทางพัฒนาตำบล ทั้งแก้ไขปัญหาการผลิต การส่งเสริมอาชีพ การตลาด โดยมีการพัฒนาแผนทุกปี
3.  วางแผนปฏิบัติงานศูนย์ฯร่วมกับบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
4.  ประสานงาน จัดงบประมาณ และจัดการบริหารเงินของศูนย์
5.  สนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ฯ อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในพื้นที่
6.  จัดทำข้อมูลประจำตำบล สำรวจข้อมูล รวบรวม วิเคราะห์ สรุปผล และวิทยากรเกษตรกร
7.  จัดการถ่ายทอดความรู้ จัดหาความต้องการด้านการฝึกอบรม การพัฒนาจุดสาธิต และวิทยากรเกษตรกร
๘.  สนับสนุนการจัดทำวิสาหกิจชุมชน
๙   รับคำร้องขอขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกรผู้ปลูกพืช
๑๐. ตรวจสอบและรับรองการเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี และนาปรัง
1๑. จัดทำทะเบียน ปรับปรุงทะเบียน และบัตรประจำตัวเกษตรกร
๑๒. ตรวจสอบความถูกต้อง เกษตรกรที่แจ้งขอรับความช่วยเหลือเนื่องจากประสบภัยกรณีฉุกเฉิน ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ปี ๒๕๔๖

ประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจากศูนย์บริการฯ
                   1.    มีศูนย์กลางในการให้บริการของหน่วยงานต่างๆ  แก่เกษตรกร  เช่น  การบริการตรวจวิเคราะห์ดิน  การบริการตรวจสารพิษตกค้าง ในพืชผล  การตอนสัตว์   การตรวจวิเคราะห์น้ำบ่อปลา   เป็นต้น
                   2.    ได้รับการบริการข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ  รวมทั้งการพยากรณ์   การเตือนภัยธรรมชาติ ภัยศัตรูพืช  และภัยเศรษฐกิจ
                   3.   เป็นแหล่งให้ความรู้และเทคโนโลยีที่ถูกต้อง เหมาะสมแก่ชุมชน
                   4.   ได้รับการถ่ายทอดความรู้และเทคนิคในการทำการเกษตร  ในรูปแบบต่างๆ  ทั้งด้านพืช   ปศุสัตว์   ประมง   พัฒนาที่ดิน  และอื่นๆ
                   5.   เป็นศูนย์รวม และเป็นสถานที่ประชุม  พบปะแลกเปลี่ยนความรู้  ประสบการณ์ของเกษตรกรในชุมชน  ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาชุมชน กำหนดทิศทางพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง  เพื่อให้เกิดการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม
                   6.   เป็นจุดที่รวบรวม หรือแสดงผลิตภัณฑ์ของตำบล  เพื่อจัดให้มีการจำหน่ายผลผลิต  หรือซื้อขายโดยตรง
                   7.   เป็นสถานที่ติดต่อยื่นคำขอรับบริการของเกษตรกร  ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร  ทั้งด้านพืช  สัตว์  ประมง   และอื่นๆ    เพื่อเสนอให้ แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ 

ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล
อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ลำดับที่

ชื่อ ศบกต.

ที่ตั้ง

1

ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลภาชี

หมู่1 ตำบลภาชี

2

ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลระโสม

หมู่3 ตำบลระโสม

3

ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลดอนหญ้านาง

หมู่ 6 ตำบลดอนหญ้านาง

4

ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลโคกม่วง

ง หมู่ 8 ตำบลโคกม่วง

5

ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลหนองน้ำใส

หมู่ 6 ตำบลหนองน้ำใส

6

ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลกระจิว

หมู่ 7 ตำบลกระจิว

7

ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลพระแก้ว

หมู่5 ตำบลพระแก้ว

8

ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลไผ่ล้อม

หมู่ 2 ตำบลไผ่ล้อม